มาฆะบูชาเป็นหนึ่งในเทศกาลทางพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งปี ซึ่งตามประเพณีจะฉลองในวันพระจันทร์เต็มดวงของเดือน “มาฆะ” (วันเพ็ญเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติ)
เป็นวันที่เราจะได้รำลึกถึงการมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายของพระอรหันต์ 1,250 รูป ซึ่งอุปสมบทโดย "เอหิภิกขุ อุปสัมปทา" และพระพุทธองค์ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาสั้นๆ แต่เป็นคำสอนที่ทรงพลังยิ่ง (ดูด้านล่าง)
ตามปฏิทินของเรา ในปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเหตุการณ์อันเป็นมงคลนี้ เราได้จัดให้มีกิจกรรมพิเศษในวันนั้น ตามหมายกำหนดการดังต่อไปนี้::
10.00 น. – ทุกท่านพร้อมเพรียงกันที่ศาลาโรงครัว (บ้านหลังใหญ่)
10.30 น. – ร่วมทำบุญตักบาตร
11.00 น. – ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ญาติโยมร่วมรับประทานอาหาร
12.45 น. – ทุกท่านพร้อมเพรียงกันที่ศาลา (ศาลาปฏิบัติธรรม)
13.00 น.– นั่งสมาธิภาวนา บรรยายธรรมโดยเจ้าอาวาส อาจารย์คงฤทธิ์ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
14.00 น. – กรวดน้ำรับพร เป็นอันเสร็จพิธีช่วงบ่าย
19.00 น. – ทำวัตรสวดมนต์ นั่งสมาธิ 20.00 น. – เวียนเทียน
20.30 น. - สวดอุทิศกุศล (อิมินา) เป็นอันจบพิธีช่วยค่ำ
ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความยินดี
กำหนดการ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
โอวาทปาฏิโมกข์
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
สะจิตตะปะริ โยทะปะนัง
การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
เอตัง พุทธานะ สาสะนัง
ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
ขันตี คือความอดกลั้นเป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต
การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย
ปาติโมกเข จะ สังวะโร
การสำรวมในปาติโมกข์
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
การนอนการนั่งในที่อันสงัด
อะธิจิตเต จะ อาโยโค
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง
เอตัง พุทธานะสาสะนัง
ธรรม ๖ อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย